วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8131 ข่าวสดรายวัน
รุก"เวียงหนองหล่ม" วิถีคนกับควาย
เกศศินีย์ นุชประมูล
"เวียงหนองหล่ม" ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย เมื่อไม่กี่ปีอุดมสมบูรณ์ทั้งพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ เป็นดินแดนพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะรับน้ำจากหนองบงกาย และทะเลสาบเชียงแสน เขตติดต่อกัน
แต่ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้กำลังวิกฤต บางจุดดินแตกระแหงถึงขนาดเดินข้ามได้ ความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมือนเดิมแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มชาวบ้านเลี้ยงควาย
เพราะที่เวียงหนองหล่มนับเป็นพื้นที่ที่เลี้ยงควายมากสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง
ชาวเวียงหนองหล่มแต่ละชุมชนรวมตัวจัดตั้งเป็น "ปางควาย" รวมแล้วมีกว่า 100 ปาง แต่ละปางมีควาย 450-490 ตัว จากเดิมมีพื้นที่อยู่ประมาณ 30,000 ไร่ แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 15,000 ไร่
เนื่องจากถูกกลุ่มนายทุนบุกรุก เพราะกะเก็งกันว่าหากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย เสร็จเมื่อไหร่ราคาที่ดินจะสูงขึ้น
อีกทั้งหน่วยงานท้องถิ่นเองก็เปิดให้เช่าพื้นที่ เพื่อทำสวนยาง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และยังตัดถนนผ่ากลางพื้นที่ด้วย เมื่อสภาพพื้นที่เปลี่ยนย่อมส่งผลกระทบถึงอาชีพเลี้ยงควายของชาวบ้าน
ล่าสุดโครงการสุขภาวะชุมชนคนชายขอบ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยกคณะรุดไปสำรวจวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของชาวเวียงหนองหล่ม
นายดุสิต จิตรสุข ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำกก ให้ข้อมูลว่า ควายที่เวียงหนองหล่มมีจำนวนมาก รองลงมาจากควายน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย โดยก่อนหน้านี้ประมาณ 3 ปี เวียงหนองหล่มมีควายมากถึง 6,000 ตัว ชาวบ้านเลี้ยงอย่างอิสระในพื้นที่เวียงหนองหล่ม
แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 1,300 ตัวเท่านั้น ขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มีรายได้จากการขายขี้ควายเป็นหลัก สำหรับนำไปทำปุ๋ย และขายพ่อแม่พันธุ์เป็นรายได้เสริม
"ปัจจุบันระบบนิเวศภายในพื้นที่เปลี่ยนไปอย่างมาก มีการบุกรุกจากคนภายนอกเข้ามาทำสวนยาง ไร่สับปะรด และทำนาปรัง ทำให้พื้นที่เดิมซึ่งมีหญ้าเป็นอาหารของควายหายไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง ควายจึงไม่มีอาหารกิน เจ้าของควายจึงต้องขายควายให้นายทุน แล้วเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น เช่น รับจ้าง หรือเข้ามาทำงานในเมืองแทน" นายดุสิตกล่าว
ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำกก บอกด้วยว่า แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ดั้งเดิมของคนในพื้นที่กำลังจะหายไป เพราะการบริหารจัดการของทั้งหน่วยงานท้องถิ่นและภาครัฐ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับอาชีพดั้งเดิมของคนในพื้นที่ หากเป็นเช่นนี้ในอนาคตปางควายเวียงหนองหล่มจะค่อยๆ หายไปในที่สุด
"ที่สำคัญเวียงหนองหล่มได้รับการเชิดชูให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ หรือแรมซาร์ไซต์ เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ทั้งนกน้ำ และปลานานาพันธุ์ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมหน่วยงานท้องถิ่นจึงไม่ค่อยให้ความสนใจในการดูแล กลับปล่อยให้มีการบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะการทำสวนยาง หรือนาปรัง" นายดุสิตชี้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
แดดร่มลมตกฝูงควายเริ่มทยอยขึ้นจากหนองน้ำ หลังหากินแช่ปลักมาตลอดทั้งวัน ชาวบ้านที่นี่บอกว่าควายเป็นสัตว์ฉลาดมันจะรู้เวลาว่าต้องกลับเข้าปางตอนไหน โดยที่เจ้าของไม่ต้องเรียก และก็เป็นเช่นนั้น เมื่อควายจำนวนมากทยอยเดินกลับเข้าที่อยู่ของมันอย่างเป็นระเบียบ
นายชัยยันต์ บุญโสภาค เจ้าของปางควาย บอกว่า ประกอบอาชีพเลี้ยงควายมาประมาณ 10 ปี โดยเริ่มต้นมีควายแค่ 21 ตัว กระทั่งออกลูกออกหลานจนมีควายถึง 74 ตัว ในขณะนี้ รายได้หลักของคนเลี้ยงควายมาจากการเก็บขี้ควายขาย มีรายได้จากการเก็บขี้ควาย สัปดาห์ละประมาณ 7,000 บาท มีรายได้เสริมจากการขายพ่อแม่พันธุ์ควาย แต่ละปีขายได้ 5-6 ตัว ราคาตัวละ 20,000-40,000 บาท และใช้ต้นทุนเลี้ยงดูควายน้อยมาก
"ก่อนหน้านี้ผมเชื่อมั่นว่าอาชีพเลี้ยงควายเป็นอาชีพที่มั่นคงและสบาย เพราะว่าควายที่เวียงหนองหล่มเป็นควายที่ดีและฉลาด เลี้ยงง่าย ชาวบ้านในบริเวณนี้ทั้งหมดล้วนนำควายของตัวเองไปเลี้ยงไว้ในบริเวณหนอง เดิมมีหญ้าให้ควายกินอย่างอุดมสมบูรณ์ เพียงพอที่ควายจะมีความสุขตามประสาของมัน"
"หากมองมาจากไกลๆ จะเห็นควายจำนวนมากรวมตัวกันอยู่ในหนอง โดยไม่รู้ว่าควายตัวไหนเป็นของใคร แต่เป็นความน่าอัศจรรย์ และความฉลาดของควาย ที่เมื่อถึงเวลา 4 โมงครึ่งของทุกวัน พวกมันจะเดินเข้าคอกของตัวเอง ไม่เคยมีตัวไหนหลงไปคอกอื่น โดยเจ้าของไม่จำเป็นต้องต้อนเลย" นายชัยยันต์กล่าว
นายชัยยันต์บอกอีกว่า ปัจจุบันชาวบ้านเริ่มหนักใจกับอาชีพเลี้ยงควายมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพื้นที่สำหรับเลี้ยงลดน้อยลงกว่าครึ่ง เพื่อนบ้านหลายคนจำเป็นต้องขายควาย ของตัวเองไปทั้งน้ำตา เพราะไม่มีทางเลือก เนื่องจากไม่มีที่เลี้ยง และไม่มีหญ้าให้กิน ชาวบ้านเริ่มคุยกันมากขึ้นว่าในอนาคตปางควายเวียงหนองหล่มจะเหลือแค่อดีตเท่านั้น
ชาวบ้านผู้เลี้ยงควายสะท้อนด้วยว่า ควายที่ชาวบ้านเลี้ยงยังมีปัญหาเรื่องการดูแลสุขภาพ เนื่องจากในแต่ละปีควายต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอบวม และโรคปากเท้าเปื่อยปีละ 1 ครั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ไม่มาให้บริการได้ครบและทั่วถึง เนื่องจากหลายคนกลัวอันตรายว่าจะโดนควายทำร้าย จึงไม่กล้ามาให้บริการ
"ในส่วนของผมเองแก้ปัญหานี้โดยไปอบรมกับกรมปศุสัตว์ เพื่อฝึกการฉีดวัคซีนให้ควายด้วยตัวเอง แต่ยังมีเพื่อนบ้านอีกหลายคนที่ไม่สามารถทำได้ อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นหากมีโรคระบาด ถือว่าน่าเป็นห่วงที่จะบั่นทอนให้ปริมาณควายลดจำนวนได้เร็วยิ่งขึ้น"
"ผมอยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการดูแลควายในพื้นที่เวียงหนองหล่ม เพราะพื้นที่แห่งนี้มีวัฒนธรรมการเลี้ยงควายที่ใหญ่ระดับประเทศแห่งหนึ่ง หากปล่อยให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้นอนาคตของควายในพื้นที่นี้ก็จะหมดไปเรื่อยๆ" นายชัยยันต์ชี้ข้อเท็จจริงที่เวียงหนองหล่ม
อีกหนึ่งเสียงสะท้อนของคนเลี้ยงควาย นายสวิง จันทาพูน หรือ ลุงสวิง ชาวบ้าน ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน เจ้าของควายกว่า 60 ตัว เล่าถึงวิถีคนเลี้ยงควายว่า เลี้ยงมาตั้งเเต่สมัยเป็นเด็กแล้วก็หยุดไปพักหนึ่ง ก่อนกลับมาเลี้ยงใหม่เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว ที่หยุดไปเพราะช่วงนั้นมีรถไฟมากขึ้น อีกทั้งเมื่อก่อนขี้ควายไม่สามารถนำไปขายได้เหมือนอย่างทุกวันนี้
ลุงสวิงบอกว่า ที่สำคัญที่นาที่มีก็ไม่ได้นำไปทำอย่างอื่น นอกจากใช้เลี้ยงควายอย่างเดียว ตั้งแต่มีการทำนาปรังมากขึ้นทำให้การเลี้ยงควายเหนื่อยมากขึ้น อย่างช่วงนี้ถ้าเป็นเมื่อก่อนควายสามารถหากินในพื้นที่ต่างๆ ได้หมด แต่เมื่อมีนาปรังพื้นที่หากินก็จำกัดลง
"ปัญหาที่มีตอนนี้คือพื้นที่สำหรับควายออกไปหากินเหลือน้อยลงทุกที จนแทบจะไม่มีที่ให้ควายออกไปหากินเเล้ว ตอนนี้หนองหายไปเกือบหมด เพราะถูกถนนตัดผ่าน ถูกดัดแปลงเป็นพื้นที่ทางการเกษตร เนื่องจากชาวบ้านเอาพื้นที่ไปทำนาปรังกันหมดเเล้ว อย่างเมื่อก่อนควายออกหากินได้ทุกที่ แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ควายหากินลดลง น้ำในหนองก็แห้งลงอย่างรวดเร็ว เพราะถูกดูดใส่นาปรังกันหมด"
"ถ้าพื้นที่ถนนและการปลูกข้าวรุกเข้ามาเรื่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เลี้ยงควายของลุงอย่างแน่นอน ถ้ามันรุกเข้ามาใกล้ที่ของลุงจริงๆ คงต้องหยุดเลี้ยงควาย ลุงพูดกับลูกเสมอว่าถ้ายังมีที่ให้ควายหากินได้อยู่ก็คงต้องเลี้ยงต่อไป แต่ถ้าวันหนึ่งไม่มีที่ให้ควายหากินก็คงต้องขายควายออกไป เหมือนอย่างคนเลี้ยงควายหลายๆ คนที่ต้องขายควายให้นายทุน"
"แม้วันหนึ่งต้องขายควายออกไปจริงๆ ก็คงไปทำนาเหมือนเขาไม่ได้ แต่ใจจริงเเล้วไม่อยากให้ถึงตอนนั้น ยังอยากเลี้ยงควายอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพราะเลี้ยงเป็นแต่ควายอย่างเดียว" ลุงสวิงเล่าอย่างหดหู่
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการพัฒนาอันไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ไม่เฉพาะควายเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ส่งผลสะเทือนถึงชาวเวียงหนองหล่มเองด้วย
หน้า 21
รุก"เวียงหนองหล่ม" วิถีคนกับควาย
เกศศินีย์ นุชประมูล
แต่ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้กำลังวิกฤต บางจุดดินแตกระแหงถึงขนาดเดินข้ามได้ ความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมือนเดิมแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มชาวบ้านเลี้ยงควาย
เพราะที่เวียงหนองหล่มนับเป็นพื้นที่ที่เลี้ยงควายมากสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง
ชาวเวียงหนองหล่มแต่ละชุมชนรวมตัวจัดตั้งเป็น "ปางควาย" รวมแล้วมีกว่า 100 ปาง แต่ละปางมีควาย 450-490 ตัว จากเดิมมีพื้นที่อยู่ประมาณ 30,000 ไร่ แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 15,000 ไร่
เนื่องจากถูกกลุ่มนายทุนบุกรุก เพราะกะเก็งกันว่าหากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย เสร็จเมื่อไหร่ราคาที่ดินจะสูงขึ้น
อีกทั้งหน่วยงานท้องถิ่นเองก็เปิดให้เช่าพื้นที่ เพื่อทำสวนยาง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และยังตัดถนนผ่ากลางพื้นที่ด้วย เมื่อสภาพพื้นที่เปลี่ยนย่อมส่งผลกระทบถึงอาชีพเลี้ยงควายของชาวบ้าน
ล่าสุดโครงการสุขภาวะชุมชนคนชายขอบ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยกคณะรุดไปสำรวจวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของชาวเวียงหนองหล่ม
นายดุสิต จิตรสุข ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำกก ให้ข้อมูลว่า ควายที่เวียงหนองหล่มมีจำนวนมาก รองลงมาจากควายน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย โดยก่อนหน้านี้ประมาณ 3 ปี เวียงหนองหล่มมีควายมากถึง 6,000 ตัว ชาวบ้านเลี้ยงอย่างอิสระในพื้นที่เวียงหนองหล่ม
แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 1,300 ตัวเท่านั้น ขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มีรายได้จากการขายขี้ควายเป็นหลัก สำหรับนำไปทำปุ๋ย และขายพ่อแม่พันธุ์เป็นรายได้เสริม
"ปัจจุบันระบบนิเวศภายในพื้นที่เปลี่ยนไปอย่างมาก มีการบุกรุกจากคนภายนอกเข้ามาทำสวนยาง ไร่สับปะรด และทำนาปรัง ทำให้พื้นที่เดิมซึ่งมีหญ้าเป็นอาหารของควายหายไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง ควายจึงไม่มีอาหารกิน เจ้าของควายจึงต้องขายควายให้นายทุน แล้วเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น เช่น รับจ้าง หรือเข้ามาทำงานในเมืองแทน" นายดุสิตกล่าว
1.พื้นที่เลี้ยงควายเหลือไม่มาก 2.พื้นที่ชุ่มน้ำเวียงหนองหล่ม ที่เริ่มถนนตัดผ่าน 3.ผืนดินเวียงหนองหล่มที่แห้งแตก 4.ภายในบริเวณปางควาย 5.-6.ควายของชาวบ้านเวียงหนองหล่ม 7.ปางควายของชาวบ้านเวียงหนองหล่ม 8.ฝูงควายพากันเดินกลับเข้าปาง |
ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำกก บอกด้วยว่า แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ดั้งเดิมของคนในพื้นที่กำลังจะหายไป เพราะการบริหารจัดการของทั้งหน่วยงานท้องถิ่นและภาครัฐ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับอาชีพดั้งเดิมของคนในพื้นที่ หากเป็นเช่นนี้ในอนาคตปางควายเวียงหนองหล่มจะค่อยๆ หายไปในที่สุด
"ที่สำคัญเวียงหนองหล่มได้รับการเชิดชูให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ หรือแรมซาร์ไซต์ เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ทั้งนกน้ำ และปลานานาพันธุ์ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมหน่วยงานท้องถิ่นจึงไม่ค่อยให้ความสนใจในการดูแล กลับปล่อยให้มีการบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะการทำสวนยาง หรือนาปรัง" นายดุสิตชี้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
แดดร่มลมตกฝูงควายเริ่มทยอยขึ้นจากหนองน้ำ หลังหากินแช่ปลักมาตลอดทั้งวัน ชาวบ้านที่นี่บอกว่าควายเป็นสัตว์ฉลาดมันจะรู้เวลาว่าต้องกลับเข้าปางตอนไหน โดยที่เจ้าของไม่ต้องเรียก และก็เป็นเช่นนั้น เมื่อควายจำนวนมากทยอยเดินกลับเข้าที่อยู่ของมันอย่างเป็นระเบียบ
นายชัยยันต์ บุญโสภาค เจ้าของปางควาย บอกว่า ประกอบอาชีพเลี้ยงควายมาประมาณ 10 ปี โดยเริ่มต้นมีควายแค่ 21 ตัว กระทั่งออกลูกออกหลานจนมีควายถึง 74 ตัว ในขณะนี้ รายได้หลักของคนเลี้ยงควายมาจากการเก็บขี้ควายขาย มีรายได้จากการเก็บขี้ควาย สัปดาห์ละประมาณ 7,000 บาท มีรายได้เสริมจากการขายพ่อแม่พันธุ์ควาย แต่ละปีขายได้ 5-6 ตัว ราคาตัวละ 20,000-40,000 บาท และใช้ต้นทุนเลี้ยงดูควายน้อยมาก
"ก่อนหน้านี้ผมเชื่อมั่นว่าอาชีพเลี้ยงควายเป็นอาชีพที่มั่นคงและสบาย เพราะว่าควายที่เวียงหนองหล่มเป็นควายที่ดีและฉลาด เลี้ยงง่าย ชาวบ้านในบริเวณนี้ทั้งหมดล้วนนำควายของตัวเองไปเลี้ยงไว้ในบริเวณหนอง เดิมมีหญ้าให้ควายกินอย่างอุดมสมบูรณ์ เพียงพอที่ควายจะมีความสุขตามประสาของมัน"
1.-2.ยามเย็นเวียงหนองหล่ม 3.ดุสิจ จิตสุข 4.สวิง จันทาพูน |
"หากมองมาจากไกลๆ จะเห็นควายจำนวนมากรวมตัวกันอยู่ในหนอง โดยไม่รู้ว่าควายตัวไหนเป็นของใคร แต่เป็นความน่าอัศจรรย์ และความฉลาดของควาย ที่เมื่อถึงเวลา 4 โมงครึ่งของทุกวัน พวกมันจะเดินเข้าคอกของตัวเอง ไม่เคยมีตัวไหนหลงไปคอกอื่น โดยเจ้าของไม่จำเป็นต้องต้อนเลย" นายชัยยันต์กล่าว
นายชัยยันต์บอกอีกว่า ปัจจุบันชาวบ้านเริ่มหนักใจกับอาชีพเลี้ยงควายมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพื้นที่สำหรับเลี้ยงลดน้อยลงกว่าครึ่ง เพื่อนบ้านหลายคนจำเป็นต้องขายควาย ของตัวเองไปทั้งน้ำตา เพราะไม่มีทางเลือก เนื่องจากไม่มีที่เลี้ยง และไม่มีหญ้าให้กิน ชาวบ้านเริ่มคุยกันมากขึ้นว่าในอนาคตปางควายเวียงหนองหล่มจะเหลือแค่อดีตเท่านั้น
ชาวบ้านผู้เลี้ยงควายสะท้อนด้วยว่า ควายที่ชาวบ้านเลี้ยงยังมีปัญหาเรื่องการดูแลสุขภาพ เนื่องจากในแต่ละปีควายต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอบวม และโรคปากเท้าเปื่อยปีละ 1 ครั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ไม่มาให้บริการได้ครบและทั่วถึง เนื่องจากหลายคนกลัวอันตรายว่าจะโดนควายทำร้าย จึงไม่กล้ามาให้บริการ
"ในส่วนของผมเองแก้ปัญหานี้โดยไปอบรมกับกรมปศุสัตว์ เพื่อฝึกการฉีดวัคซีนให้ควายด้วยตัวเอง แต่ยังมีเพื่อนบ้านอีกหลายคนที่ไม่สามารถทำได้ อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นหากมีโรคระบาด ถือว่าน่าเป็นห่วงที่จะบั่นทอนให้ปริมาณควายลดจำนวนได้เร็วยิ่งขึ้น"
"ผมอยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการดูแลควายในพื้นที่เวียงหนองหล่ม เพราะพื้นที่แห่งนี้มีวัฒนธรรมการเลี้ยงควายที่ใหญ่ระดับประเทศแห่งหนึ่ง หากปล่อยให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้นอนาคตของควายในพื้นที่นี้ก็จะหมดไปเรื่อยๆ" นายชัยยันต์ชี้ข้อเท็จจริงที่เวียงหนองหล่ม
อีกหนึ่งเสียงสะท้อนของคนเลี้ยงควาย นายสวิง จันทาพูน หรือ ลุงสวิง ชาวบ้าน ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน เจ้าของควายกว่า 60 ตัว เล่าถึงวิถีคนเลี้ยงควายว่า เลี้ยงมาตั้งเเต่สมัยเป็นเด็กแล้วก็หยุดไปพักหนึ่ง ก่อนกลับมาเลี้ยงใหม่เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว ที่หยุดไปเพราะช่วงนั้นมีรถไฟมากขึ้น อีกทั้งเมื่อก่อนขี้ควายไม่สามารถนำไปขายได้เหมือนอย่างทุกวันนี้
ลุงสวิงบอกว่า ที่สำคัญที่นาที่มีก็ไม่ได้นำไปทำอย่างอื่น นอกจากใช้เลี้ยงควายอย่างเดียว ตั้งแต่มีการทำนาปรังมากขึ้นทำให้การเลี้ยงควายเหนื่อยมากขึ้น อย่างช่วงนี้ถ้าเป็นเมื่อก่อนควายสามารถหากินในพื้นที่ต่างๆ ได้หมด แต่เมื่อมีนาปรังพื้นที่หากินก็จำกัดลง
"ปัญหาที่มีตอนนี้คือพื้นที่สำหรับควายออกไปหากินเหลือน้อยลงทุกที จนแทบจะไม่มีที่ให้ควายออกไปหากินเเล้ว ตอนนี้หนองหายไปเกือบหมด เพราะถูกถนนตัดผ่าน ถูกดัดแปลงเป็นพื้นที่ทางการเกษตร เนื่องจากชาวบ้านเอาพื้นที่ไปทำนาปรังกันหมดเเล้ว อย่างเมื่อก่อนควายออกหากินได้ทุกที่ แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ควายหากินลดลง น้ำในหนองก็แห้งลงอย่างรวดเร็ว เพราะถูกดูดใส่นาปรังกันหมด"
"ถ้าพื้นที่ถนนและการปลูกข้าวรุกเข้ามาเรื่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เลี้ยงควายของลุงอย่างแน่นอน ถ้ามันรุกเข้ามาใกล้ที่ของลุงจริงๆ คงต้องหยุดเลี้ยงควาย ลุงพูดกับลูกเสมอว่าถ้ายังมีที่ให้ควายหากินได้อยู่ก็คงต้องเลี้ยงต่อไป แต่ถ้าวันหนึ่งไม่มีที่ให้ควายหากินก็คงต้องขายควายออกไป เหมือนอย่างคนเลี้ยงควายหลายๆ คนที่ต้องขายควายให้นายทุน"
"แม้วันหนึ่งต้องขายควายออกไปจริงๆ ก็คงไปทำนาเหมือนเขาไม่ได้ แต่ใจจริงเเล้วไม่อยากให้ถึงตอนนั้น ยังอยากเลี้ยงควายอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพราะเลี้ยงเป็นแต่ควายอย่างเดียว" ลุงสวิงเล่าอย่างหดหู่
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการพัฒนาอันไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ไม่เฉพาะควายเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ส่งผลสะเทือนถึงชาวเวียงหนองหล่มเองด้วย
หน้า 21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น